ดูด่วน!! นี่คือสิ่งที่คร่าชีวิตนักร้องลูกทุ่ง “สันติ ดวงสว่าง” ได้ไวมาก ทำเอารู้เลยโรคอันตรายอยู่ใกล้ตัวเราทุกคน

หลังวานนี้ มีข่าวช็อกวงการบันเทิง สันติ ดวงสว่าง นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เสียชีวิตแล้วอย่างสงบที่ รพ. ใน จ.สมุทรสงคราม ด้วยวัยเพียง48ปี...




หลังวานนี้ มีข่าวช็อกวงการบันเทิง สันติ ดวงสว่าง นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เสียชีวิตแล้วอย่างสงบที่ รพ. ใน จ.สมุทรสงคราม ด้วยวัยเพียง48ปี หลังหมดสติ เส้นเลือดสมองแตก นอนโคม่า 4 วัน สร้างความเศร้าสลดอย่างมาก
จะเห็นได้ว่า ช่วงหลังนี้ คนดังๆมักจะเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตก เรามาดูว่ากันโรคนี้คืออะไร อาการเป็นอย่างไร พร้อมรับมือกับมัน
และถ้ายังจำกันได้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สันติ ดวงสว่างนั้น เคยวูบจนขับรถชนมาแล้ว ธันวาคม 2558 สันติ ดวงสว่าง เข้ามาโรงพยาบาลช่วงค่ำด้วยอาการปวดหัวรุนแรงอ่อนเพลียมาก จึงตรวจเช็คร่างกายพบว่าความตันโลหิตตัวบนสูง 190 มิลลิเมตรปรอทและน้ำตาลในเลือดสูงถึง 527 จึงให้การรักษาโดยฉีดอินซูลินลดน้ำตาลและให้ยาแอมโรไดปีนลดความดัน จนล่าสุดความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดลดลงตามลำดับ  ซึ่งมีโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอยู่แล้วอาจจะหักโหมกับการทำงานทำให้พักผ่อนน้อยรวมทั้งขาดยาลดความดันและลดน้ำตาลในเลือดทำให้อาการกำเริบจนต้องหามส่งโรงพยาบาลดังกล่า ผ่านไป เกือบ 1 ปี สันติ ดวงสว่าง ก็มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก จนเสียชีวิตในที่สุด
หากจะกล่าวว่า โรคที่เกี่ยวกับ หลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตรายและน่ากลัวเป็นอันดับต้นๆ ของคนยุคปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น โรคเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองตัน หรือ เส้นเลือดสมองแตก โดยในอดีตเรามักเข้าใจว่าโรคที่เกี่ยวกับ เส้นเลือดสมองเป็นโรคของผู้สูงอายุ ทว่าในปัจจุบันกลับพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้นตามลำดับทั้งที่อยู่ในวัยกลางคนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนับรวมบรรดาโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทั้งหลายแล้ว ภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบนี้พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (รองจากโรคหัวใจ) ดังนั้น การรู้จักและรู้ทันโรคนี้เพื่อหาทางป้องกันตนเองและคนรอบข้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม




สาเหตุ โรคหลอดเลือดในสมอง ตีบ ตัน แตก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อไขมันหรือลิ่มเลือดเกิดการอุดตัน แล้วเข้าไปคั่งอยู่ในเส้นเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและถูกทำลายไป ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบหรือตันแล้วไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ทันท่วงที ก็อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรืออัมพาตได้ หรือหากรุนแรงกว่านั้นคือเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตก ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตโดยกะทันหันได้
โรคนี้มีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ภาวะที่ต้องเผชิญกับความเครียดเป็นประจำ รวมไปถึงสิงห์อมควันทั้งหลายด้วย โดยปกติแล้วโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย หรือคนอายุน้อยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูงมานานแต่ไม่ได้รับการรักษา หรือเกิดกับคนที่มีเส้นเลือดผิดปกติ ซึ่งทำให้ โรคหลอดเลือดสมอง ทำงานบกพร่องจน ตีบ ตัน หรือแตกในที่สุด
สัญญาณอันตราย ความน่ากลัวของโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง คือ อาการของ โรคมัก เกิด ขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถล่วงรู้ได้ก่อนว่าจะเกิดขึ้นเวลาใด ดังนั้น หากผู้ป่วย ไม่หมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอย่างสม่ำเสมอและรู้เท่าทันถึง “สัญญาณอันตราย” แล้วก็อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรืออัมพาต หรืออาจเสียชีวิตได้ “สัญญาณอันตราย” ที่ว่านี้ก็คือ เดินไม่ตรง มีอาการเซ ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก เอื้อมหยิบสิ่งของไม่ได้ ไม่มีแรง ชาบริเวณ มือ แขน ขา มองภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน มีอาการปวดศีรษะ หรือ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หากพบว่าคุณมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ หาสาเหตุให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังที่กล่าวมาแล้ว หากพบ สัญญาณอันตรายเหล่านี้แม้เพียงประการเดียวก็จงอย่าละเลยหรือนิ่งนอนใจเป็นอันขาด


ลำดับขั้นของอาการ อาการของโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะหลอดเลือกสมองตีบ ตัน และแตกนี้ มีระดับขั้นของความรุนแรงเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 อาการเส้นเลือดตีบและตัน เมื่อเส้นเลือดเกิดภาวะตีบหรือตันที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง จะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกและติดขัด สมองจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการที่เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นในระยะนี้ เช่น ชาตามร่างกาย ตามมือ เท้า หรืออาจหมดสติได้ หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงแรกที่ปรากฏอาการ
ระยะที่ 2 เส้นเลือดในสมองแตก ระยะนี้ถือเป็นระยะอันตราย เนื่องจากเป็นภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งนอกจากจะต้องนำผู้ป่วยไปถึงมือหมอโดยเร็วที่สุดแล้ว ยังจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะทุพพลภาพ หรืออาจฟื้นตัวได้ช้ากว่ากลุ่มแรก
การป้องกัน เนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน 

และเมื่อเกิดอาการของโรคนี้ขึ้นมาแล้วก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตกะทันหันได้ ดังนั้น การระมัดระวังตนเองและป้องกันมิให้เกิดโรคจึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ด้วยการดูแลสุขภาพของตนตั้งแต่อายุยังน้อย หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคอยตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ ไม่ให้เผชิญกับโรคที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยง ด้วยการเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และตรวจเช็คเป็นพิเศษเกี่ยวกับ หัวใจ ตับ ความดัน และไขมันในเลือด เป็นต้น
นอกจากดูแลสุขภาพร่างกายแล้ว ยังต้องดูแลสุขภาพจิตให้เบิกบานแจ่มใสควบคู่ไปด้วย เรียกว่า กิน อยู่ หลับนอน ต้องเป็นไปอย่างสมดุล เพื่อความสุขกาย และสบายใจอย่างแท้จริง

You Might Also Like

0 comments

Note: Only a member of this blog may post a comment.

Flickr Images